คิดก่อนพูดดีกว่าไหม จะด่าใครต้องคิดให้ดีก่อน เพราะว่าคุณอาจจะตกเป็นจําเลยใน ความผิดฐานหมิ่นซึ่งหน้าได้
คิดก่อนพูดดีกว่าไหม จะด่าใครต้องคิดให้ดีก่อน เพราะว่าคุณอาจจะตกเป็นจําเลยใน ความผิดฐานหมิ่นซึ่งหน้าได้
ป.อ.มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
การดูหมิ่น คือ การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทําให้อับอาย
หรือการทํากิริยาใดๆ เช่น การยกเท้า เปลือยกาย หรือให้ของลับ
ส่วนคําว่าซึ่งหน้านั้น หมายถึง การดูหมิ่นนั้นต้องกระทําต่อหน้าผู้ถูกดูหมิ่น และ ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ข้างหน้าก็ได้ อาจจะอยู่ข้างๆ หรืออยู่ข้างหลัง แต่การด่าลับหลังโดยผู้ ถูกด่าไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ ไม่เป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า เช่น
คําพิพากษาฎีกาที่ 13173/2558 จําเลยด่าผู้เสียหายว่า “ก็ผู้หญิงชั่ว” แล้ว มองไปที่ผู้เสียหาย เป็นการดูถกเหยียดหยาม สบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นผู้หญิงเลว ผู้หญิงทราม ผู้หญิงร้าย ผู้หญิงไม่ดี จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายตามมาตรา 393
คําพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552 เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ ความหมายว่า “ตอแหล” ว่า เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การ ที่จําเลยกล่าวถ้อยคําดังกล่าวต่อผู้เสียหาย จึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูก เหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย
คําพิพากษาฎีกาที่ 2102/2521 จําเลยถ่มน้ําลายไปทางผู้เสียหายและว่า
ผู้เสียหายว่า อีดอกดํา คําว่า อีดอก เป็นถ้อยคําหยาบคาย สามัญชนฟังแล้วเข้าใจได้ ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่าผู้ถูกด่า เป็นหญิงไม่ดี จําเลยจึ่งมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
คําพิพากษาฎีกาที่ 5257/2548 จําเลยด่าผู้เสียหายว่า “อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึง คิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง” และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคําดังกล่าวนอกจากจะเป็นคํา หยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า เป็นการดูหมื่นผู้เสียหาย
คําพิพากษาฎีกาที่ 7572/2542 การที่จําเลยกล่าวถ้อยคําต่อโจทก์ร่วมว่า “มึงเข้า
ไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไอ้หน้าโง่มึง
หมายเหตุ การดูหมิ่นหน้าต่างจากการหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กล่าวคือ หมิ่นประมาทจะต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนเห็น คนฟัง เชื่อแล้วเกิดความรู้สึกเกลียดชัง แต่การดูหมิ่นนั้นไม่มีการใส่ความหรือใสข้อเท็จจริง เพียงแต่ถ้อยคำที่กล่าวนั้น เป็นคำหยาบ คำที่ไม่สมควรพูด
ที่มาของบทความ หนังสือหลักและคำพิพากษากฎหมายอาญา อาจารย์สหรัฐ กิติ ศุภการ ผู้พิพากษา และเว็บไซต์ deka.in.th